Waving Onion Kun

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎแก๊สอุดมคติ


         จากการทดลองและข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนที่ศึกษาเรื่องแก๊สเราจะเห็นว่า สมบัติของแก๊สมีความสัมพันธ์กันด้วยตัวแปรคล้ายๆ กัน คือ ทุกคนต่างก็ดูที่ปริมาตรของแก๊สที่เปลี่ยนไป ด้วยการกำหนดตัวแปรต้นแตกต่างกันออกไป


        บอยล์ เมื่อเปลี่ยนความดันของแก๊ส ปริมาตรจะเป็นอย่างไร
        ชาร์ล เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิของแก๊ส ปริมาตรจะเป็นอย่างไร
        อาโวกาโดร เมื่อเปลี่ยนจำนวนโมลหรือจำนวนโมเลกุลของแก๊ส ปริมาตรจะเป็นอย่างไร

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การแพร่ผ่านของแก๊ส (Effusion)


     การแพร่ผ่านของแก๊ส (Effusion) หมายถึงกระบวนการที่โมเลกุลของแก๊สเคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งผ่านรูเล็ก ๆ ไปสู่อีกบริเวณหนึ่งโดยไม่มีการชนกันของโมเลกุล  เช่น  การบรรจุแก๊สไฮโดรเจนลงในภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่ไม่ได้เคลือบ มีรูพรุน แล้วตั้งทิ้งไว้ในอากาศ ไฮโดรเจนฟุ้งกระจายภายในภาชนะออกมาข้างนอก และอากาศข้างนอกฟุ้งกระจายเข้าไปในภาชนะโดยมีการผ่านรูเล็ก ๆ ของภาชนะ

  

แรงดึงผิวของของเหลว


      แรงดึงผิวของของเหลว คือ  แรงที่เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวของของเหลวสัมผัสกับของเหลวอื่นหรือกับผิวของแข็งโดยมีพลังงานเพียงพอต่อการยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล  ซึ่งมีขนาดสัมพันธ์กับแรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่นทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายๆ  กับแผ่นบางๆ ที่สามารถต้านแรงดึงได้เล็กน้อย มีทิศขนานกับผิวของเหลวและตั้งฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความตึงผิวของเหลวจะมีค่าลดลง

     

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อนุภาคของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

         ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ประกอบด้วยอนุภาค อนุภาคในที่นี้หมายถึงโมเลกุล อะตอม ไอออน ซึ่งมีการจัดเรียงตัวที่แตกต่างกัน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าแตกต่างกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของแข็งมีค่ามากกว่าของเหลว และมากกว่าแก๊สมากๆ จึงทำให้อนุภาคของของแข็งจัดเรียงตัวอยู่ชิดกันมากที่สุด ของแข็งจึงมีรูปร่างแน่นอนและคงที่ ส่วนแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคของแก๊สมีค่าน้อยที่สุด อนุภาคสามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วตลอดเวลา ฟุ้งกระจายได้ อนุภาคจึงอยู่ห่างกันมาก เพราะฉะนั้น คุณสมบัติของเหลวจะต้องอยู่ระหว่างของแข็งและแก๊ส

  

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎของบอยล์ (Boyle’s Law)



เมื่อทดลองโดยใช้กระบอกฉีดยาและปิดปลายกระบอกฉีดยา เมื่อกดก้านกระบอกฉีดยาทำให้ปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาลดลง และเมื่อปล่อยมือก้านกระบอกฉีดยาจะเลื่อนกลับสู่ตำแหน่งเดิม ในทำนองเดียวกันเมื่อดึงก้านกระบอกฉีดยาขึ้น ทำให้ปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดเพิ่มขึ้น และเมื่อปล่อยมือก้านกระบอกฉีดยาจะเลื่อนกลับสู่ตำแหน่งเดิม สามารถใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอธิบายได้ว่า เมื่อปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาลดลง ทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ใกล้กันมากขึ้น จึงเกิดการชนกันเองและชนผนังภาชนะมากขึ้น เป็นผลให้ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้น ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างกัน การชนกันเองของโมเลกุลของแก๊สและการชนผนังภาชนะน้อยลง ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาจึงลดลง

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลึก


       ในกรณีกล่าวถึงของแข็งที่มีลักษณะเป็นผลึกเท่านั้น  โดยผลึกประกอบจากการเรียงตัวของอะตอม ไอออน หรือโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบสม่ำเสมอในสามมิติ และยึดกันอยู่ด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคชนิดต่างๆ  ดังนั้น เราอาจจำแนกผลึกออกได้เป็น 4 ชนิด ตามชนิดของอนุภาคองค์ประกอบและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค ดังนี้


1. ผลึกโมเลกุล (Molecular Crystal)                                   2. ผลึกโคเวเลนต์ (Covalent Crystal)
                   

3. ผลึกไอออนิก (Ionic Crystal)                                         4. ผลึกโลหะ (Metallic Crystal)
                                      

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลาวัวซิเยร์ : กฎทรงมวล

         เมื่อเคมีสมัยใหม่เริ่มต้นในคริสตศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะสังเกตปริมาณของสาร จากการทดลองของลาวัวซิเยร์ เพื่อแยกแก๊สออกซิเจนออกมา ในการทดลองของ ลาวัวซิเยร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังรูป ด้านล่าง โดยที่นำเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ใส่ลงไปในขวดคอยาวโดยที่คอขวดต่ออยู่กับครอบแก้วรูประฆังมีปริมาตร 40 ลูกบาศก์นิ้วสำหรับเก็บแก๊สที่เผาได้ โดยใช้เตาเผาที่มีถ่าน (charcoal) เป็นเชื้อเพลิง เขาได้ชั่งน้ำหนักของสารเริ่มต้น ก่อนเผาไว้ จากนั้นทำการเผา เมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ เป็นเวลา 12 วัน จะสังเกตได้ว่าระดับน้ำในขวดรูประฆังลดลงแสดงว่าต้องมีแก๊สเกิดขึ้น ทดสอบโดยการจุดเทียนไขได้เปลวไฟที่สว่าง มากกว่าปกติ ส่วนในขวดคอยาวพบว่ามีปรอทเหลว(mercury) 
         จากการชั่งน้ำหนักของสารตั้งต้นในขวดคอยาว และผลิตภัณฑ์ เขาพบว่ามวลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ มีมวลเท่ากับเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ที่เริ่มต้นเขาจึงสรุปออกมาเป็นกฎทรงมวล ว่า
"มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังทำปฏิกิริยา"

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

proust : กฎสัดส่วนคงที่


         Joseph Proust เป็นผู้ก่อตั้งกฎนี้ขึ้นมา เขากล่าวว่า สารที่เป็นสารประกอบชนิดเดียวกันมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน เช่น  คอปเปอร์คาร์บอเนต(CuCO3) ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่พบในแร่มาลาไคท์ ที่พบบนหลังคาที่ทำด้วยทองแดง และที่สังเคราะห์ได้ ในห้องปฏิบัติการเคมี ก็จะมีองค์ประกอบเหมือนกัน คือ 57.48% Cu , 5.43% C , 0.91% H และ 36.18% O โดยมวล